วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551

นิสิตใช้คอมพิวเตอร์ในอะไรบ้าง อธิบาย

ดิฉันใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานหลายอย่าง เช่น การทำรายงาน , การทำโครงงาน , การค้นคว้าและหาความรู้ด้านการศึกษา , การค้นหาข่าวสารทั้งในประเทศและนอกประเทศ , การใช้ติดต่อกับเพื่อน เช่น อีเมล์ , hi5 , MSN ฯลฯ , ใช้ในการฟังเพลงและดูหนัง , ตกแต่งรูปภาพต่างๆ เป็นต้น

VLSI คืออะไร มีความสำคัญต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร

VLSI คือ
เป็นยุคของวงจร VLSI (Very Large Scale Integration) ในรูปของไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) เปลี่ยนระบบหน่วยความจำจากวงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำสารกึ่งตัวนำที่เรียกว่า RAM (Random Access Memory) ส่งผลให้เกิดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC : Personal Computer)

Microprocessor - VLSI (Very Large Scale Integration)

Apple I


Apple II



ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคนี้
ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration :LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI)
มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่งประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS) (โอ้วเอกลักษณ์!!! จะเร็วไปถึงไหนกัน)

มีความสำคัญต่อคอมพิวเตอร์

นำมาใช้เป็นตัวประมวลผล ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงได้มาก ในปัจจุบัน มีการสร้างชิปที่มีประตูมากยิ่งไป กว่านั้น เรียกว่า ULSI ( ultra large scale integraton หรือวงจรรวมความจุสูงยิ่ง)


ที่มา : http://202.44.12.92/bellab/index.php?EXT=&action=blog&order=blog_blog&pid=972&where=(%E0%B8%A2%E0%B8%8F%60%E0%B8%A2%E0%B8%90.%E0%B9%82%E2%82%AC%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%90%E0%B9%82%E2%82%AC%E0%B8%82.%E0%B9%82+%E2%80%A6*+BigKungZaa+*%E0%B9%82+%E2%80%A6+.%E0%B9%82%E2%82%AC%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%90%E0%B9%82%E2%82%AC%E0%B8%82.%E0%B8%A2%E0%B8%90%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%8F)+CPE+&ppid=4319&subaction=&subblog=

ที่มา : http://guru.sanook.com/dictionary/dict_comp/VLSI/


ว/ด/ป ที่สืบค้น : 26/06/51

ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร

**ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร**
ข้อมูล(data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษรหรือสํญลักษณ์ และข้อมูลที่นั้นต้องเป็นข้อมูลที่แม่นยำและเป็นปัจจุบันที่สุด เช่น ที่อยู่ ปริมาณ คะแนน เป็นต้น
สารสนเทศ(Information) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อต่างๆ เช่น ข่าว วิทยุ หนังสือ เป็นต้นและคำว่าสารสนเทศนี้จะมีความหมายหลากหลายตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค
ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกัน ข้อมูลหมายถึงข้อเท็จจริง ที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากเหตุการณ์ต่างๆ แต่สารสนเทศหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเพื่อไปใช้ในการตัดสินใจต่อไป
เช่น
ข้อมูล นักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 มีจำนวน 150 คน
สารสนเทศ มีนักเรียนที่มาจากโรงเรียนอื่นๆ 20 คน เป็นนักเรียนเก่า 130 คน
แตกต่างกันเนื่องจากข้อมูลคือข้อเท็จจริง สารสนเทศคือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวล
ว/ด/ป ที่สืบค้น 26/06/51

คอมพิวเตอร์แบบฝังคืออะไร ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง พร้อมรูป

<<คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer )>>



เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

ว/ด/ป ที่สืบค้น 26/06/51

คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง พร้อมรูปภาพ

**ประเภทของคอมพิวเตอร์**

คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของขนาดเครื่องความเร็วในการประมวลผล และราคาเป็นข้อพิจารณาหลัก โดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภท คอมพิวเตอร์ เป็น 6 ประเภทดังนี้คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (mainframe computer) มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer ) ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) และคอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

**ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)** เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้มากกว่า พันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศการทดสอบทางอวกาศ และงานอื่น ๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน

**คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe computer)** เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรม นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึง ข้อมูลของผู้ใช้จำนวน มากในเวลาเดียวกันเช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียน ของนักศึกษา เป็นต้น

**มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer)** เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์ เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์การหลายประเภทนิยมนำ มินิคอมพิวเตอร์มา ใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น



**เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer)** เป็นคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์ เครือข่ายซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( เช่น เครื่องพิมพ์แลอุปกรณ์อื่น ๆ )





**ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)** เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีผู้นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด ส่งผลให้การพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะและรูปแบบ ที่แตกต่างกัน เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ( desktop computer ) คอมพิวเตอร์พกพา ( portable computer ) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


**คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer )** เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

ที่มา: http://www.tp.th.gs/web-t/p/index3.htm

ว/ด/ป ที่สืบค้น 25/06/51



วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เอสวีโอเอเปิดตัวพีซี "ดีไซน์สเตชั่น" ที่ใช้ CPU ใหม่ Core 2 Quad ราคาพิเศษ

เอสวีโอเอเปิดตัวพีซี "ดีไซน์สเตชั่น" ที่ใช้ CPU ใหม่ Core 2 Quad ราคาพิเศษ



คอมพิวเตอร์พีซีรุ่นใหม่ “ดีไซน์ สเตชั่น (PC Design Station)”

บริษัทเอสวีโอเอ จำกัด(มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายคอมพิวเตอร์ SVOA เปิดตัวคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ “ดีไซน์ สเตชั่น (Design Station)” เหมาะสำหรับธุรกิจด้านการออกแบบโดยเฉพาะ จุดเด่นของคอมพิวเตอร์รุ่นนี้ จะมีประสิทธิภาพในการทำงานเหนือกว่าคอมพิวเตอร์พีซีทั่ว ๆ ไป โดยใช้ซีพียูอินเทลใหม่ล่าสุด Core 2 Quad Processor Q 6600 ทำให้ทำงานได้อย่างอิสระ และสามารถทำงานได้หลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันอย่างกลมกลืนและต่อเนื่อง โดยจัดโปรโมชั่นในราคาพิเศษสุด
คอมพิวเตอร์เอสวีโอเอ “ดีไซน์ สเตชั่น (Design Station) ใช้เทคโนโลยีโปรเซสเซอร์แบบคว๊อดคอร์ ที่เปิดตลาดสู่การนำเสนอแบบเจาะกลุ่มนักออกแบบต่าง ๆ ที่ต้องการความสามารถของโปรเซสเซอร์ระดับสูง ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งในการใช้กับแอพพลิเคชั่นการออกแบบที่ซับซ้อนแบบมัลติเธรด รวมถึงการทำงานแบบมัลติทาสก์ เพื่อให้ธุรกิจงานออกแบบเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มผลผลิตและสามารถยกระดับความสามารถของงานออกแบบได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี ดีไซน์สเตชั่น รุ่น C2Q 24000 ดีไซน์ด้วยสีขาว White Tone จอแอลซีดี ไวล์สกรีน 19 นิ้ว เทคโนโลยีโปรเซสเซอร์แบบคว๊อดคอร์ ใช้ชิป Intel Core 2 Quad Q 6600 2.4 กิ๊กกะเฮิร์ซ 8 เมกะไบท์ แอล 2 แคช , FSB 667 เมกะเฮิร์ซ เมนบอร์ดอินเทล G33/ICH9 , หน่วยความจำ DDR-2 2 กิ๊กกะไบท์ ,ฮาร์ดดิสต์บรรจุ 160 กิ๊กกะไบท์ , DVD Writer พร้อมระบบเสียง 8 ช่องทาง 250 วัตต์ คีบอร์ดมัลติมีเดีย PS/2 (White) ลงโปรแกรมวินโดว์วิสต้า รับประกันนานถึง 3 ปีเต็ม สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ตัวแทนจำหน่ายศูนย์บริการเอสวีโอเอ และเอสวีโอเอคอล์ลเซ็นเตอร์ โทรศัพท์ 02-686-9000
สื่อมวลชนสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณธนศักย์ อุทิศชลานนท์ (โป้ง)
ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์บริษัท คอร์แอนด์พีค จำกัด
โทรศัพท์ 02-439-4600 ต่อ 8202
มือถือ 081-421-5249
อีเมล์ : Tanasaku@corepeak.com
ว/ด/ป/ ของข่าว : Monday, 17 September 2007 13:38 -- เทคโนโลยีสารสนเทศ

ไอบีเอ็ม ประกาศผลผู้ชนะการแข่งขัน การจัดการระบบคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม เมนเฟรม

ไอบีเอ็ม ประกาศผลผู้ชนะการแข่งขัน การจัดการระบบคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม เมนเฟรม


บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดการแข่งขันการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี (System z หรือ ไอบีเอ็ม เมนเฟรม) หรือ Master the Mainframe Challenge 2007 ขึ้น ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 ถึง 31 มกราคม 2551 ที่ผ่านมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะแก่นักศึกษาทางด้านเทคโนโลยีเมนเฟรมของไอบีเอ็ม ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเมนเฟรมในธุรกิจชั้นนำที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการแข่งขันได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วและมีผู้ชนะดังต่อไปนี้
รางวัลชนะเลิศ ประกอบด้วย ตั๋วเครื่องบิน ที่พักและโอกาสเยี่ยมชมบริษัท ไอบีเอ็ม ที่เมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย รวมทั้งเครื่องเล่นเกมคอนโซล นินเทนโด วี คอร์สอบรมทางด้านไอทีจากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และใบประกาศนียบัตรการชนะการแข่งขันจากบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย มูลค่า 45,000 บาท ผู้ได้รับรางวัล คือ นายคมน์สิทธิ์ รัตนา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ประกอบด้วยเครื่องเล่นเกมคอนโซล นินเทนโด วี คอร์สอบรมทางด้านไอทีจากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และใบประกาศนียบัตรการชนะการแข่งขันจากบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย มูลค่า 15,000 บาท ผู้ได้รับรางวัล คือ นายณัฐพล แสงสุริยาโชติ จากคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ประกอบด้วยเครื่องเล่นเกมคอนโซล นินเทนโด วี คอร์สอบรมทางด้านไอทีจากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และใบประกาศนียบัตรการชนะการแข่งขันจากบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย มูลค่า 15,000 บาท ผู้ได้รับรางวัล คือ นายฐานันต์ ไตรองค์ถาวร จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สามและที่สี่ ไม่มีผู้เหมาะสมได้รับรางวัล

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ที่ผ่านมา ไอบีเอ็ม มีนโยบายส่งเสริมการศึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษามาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากกิจกรรมต่าง ๆ ของเราที่ผ่านมา ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเมนเฟรมในธุรกิจชั้นนำต่าง ๆ ที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” นอกจากนี้ นายธนพงษ์ ยังกล่าวเสริมว่า “ไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี หรือ ไอบีเอ็ม เมนเฟรม ถือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งของไอบีเอ็มที่เป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายในองค์กรระดับโลกมาเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับระบบงานที่เป็นหัวใจของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ เช่น ธนาคาร หรือ สายการบิน ฯลฯ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ระบบเมนเฟรมอาจถูกมองว่าเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความซับซ้อนมาก ยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจ ซึ่งความเชื่อดังกล่าวไม่ได้เป็นความจริงแต่อย่างใด ดังจะพิสูจน์ได้จากจำนวนนักศึกษาผู้เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้”
นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.บวร ปภัสราทร คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าธนบุรี กล่าวเสริมว่า "ทางมหาวิทยาลัยฯ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับไอบีเอ็ม ในการสนับสนุน กิจกรรมที่ส่งเสริมการศึกษาและการแข่งขันครั้งนี้ ที่ผ่านมา ทางสถาบันฯ ได้มีการจัดการเรียนการสอนทางด้าน เทคโนโลยีเมนเฟรมของไอบีเอ็ม เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านเมนเฟรมในตลาดแรงงาน ที่เพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ สุดท้ายนี้ ทางมหาวิทยาลัยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมมือกับ ไอบีเอ็มในกิจกรรมที่เป็น ประโยชน์ต่อไปเพื่ออนาคตของเยาวชนและประเทศชาติ"
การแข่งขันการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม เมนเฟรม หรือ Master the Mainframe Challenge ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการไอบีเอ็ม อคาเดมิค อินิทิเอทีฟ นี้เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี 2548 ในหลายประเทศ แต่ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและทวีปเอเชีย โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 ถึง 31 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา และถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง มีผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 700 คน จาก 40 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ สำหรับการแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ซึ่งหากผ่านช่วงแรกมาได้ ช่วงท้ายจะมีความยากมากขึ้นเรื่อย ๆ คุณสมบัติของผู้ร่วมเข้าแข่งขันคือ ต้องเป็นนักศึกษาปริญญาตรี และไม่จำเป็นต้องมีความรู้ หรือประสบการณ์เกี่ยวกับระบบเมนเฟรมมาก่อนแต่อย่างใด ประโยชน์ที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับนอกเหนือจากการมีสิทธิชิงรางวัลต่าง ๆ แล้วยังได้มีโอกาสเรียนรู้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม เมนเฟรมขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอินเทอร์เฟช การพัฒนาโปรแกรมที่ใช้งานบนเมนเฟรม หรือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับโปรแกรมเมอร์ของเมนเฟรม โดยข้อมูลหรือกิจกรรมการแข่งขันทั้งหมด สามารถทำผ่านทางเว็บไซต์ www.ibm.com/th/mainframechallenge
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับการแข่งขัน Master the Mainframe Challenge 2007 เยี่ยมชมได้ที่ www.ibm.com/th/mainframechallenge
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี (System Z) หรือ เมนเฟรม เยี่ยมชมได้ที่ www.ibm.com/systems/z
แผนกประชาสัมพันธ์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
วีระกิจ โล่ทองเพชร
โทรศัพท์ : 0-2273-4117
อีเมล์: werakit@th.ibm.com